ศาสตร์ในการอ่านข่าวลือวงการไอที ข่าวไหนเชื่อได้หรือไม่ได้
วันนี้พึ่งเขียนบ่นๆ เรื่องข่าวลือไปไม่ทันไร ก็มีข่าวลือเรื่อง iPad ลดราคาเหลือ 6,000 บาท (มีเว็บไหนบ้างกดดูกันเอง) เห็นทาง iPhonemod นำลิงค์ของ Techbreaker มาเเชร์ ก็เห็นว่าน่าสนใจเลยอยากต่อยอดเรื่องเกี่ยวกับข่าวลือในวงการไอทีซักหน่อยครับ
เรื่องข่าวลือนั้นจริงๆ เท่าที่ผมสัมผัสมาจะเป็นของ Apple ร้อยละ 90 เเต่ก็พอเข้าใจว่า Apple เป็นบริษัทที่เล่นกับข่าวลือได้ดี เเต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่ใครๆ ก็อยากได้อยู่เเล้ว จึงเหมือนกับว่าเว็บส่วนใหญ่จึงชอบเล่นข่าวของ Apple เนื่องจากคนสนใจมากนั่นเอง โดยเฉพาะเว็บอย่าง 9to5Mac หรือ Macrumors นั่นเรียกว่าเป็นเจ้าพ่อข่าวลือกันเลยทีเดียว เเต่ความเห็นของผม Digitimes เป็นเเหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในระดับหนึ่งถ้าไม่ใช่ข่าวของ Apple นะ เเต่ก่อนที่จะดูว่าข่าวไหนเชื่อได่หรือไม่ได้ ผมอยากของเเยกระหว่างข่าวลือ “rumor” กับข่าวหลุด “leaked” เสียก่อน
ข่าวลือมักจะมีธรรมชาติด้วยคำว่า “จากเเหล่งข้อมูลใกล้ชิด” “เเหล่งข้อมูลที่ไม่ประสงค์จะออกนาม” เป็นส่วนมาก ที่ว่าเป็นข่าวลือเป็นเพราะไม่มีหลักฐานนั่นเอง เเต่โดยทั่วไปเเล้วเเหล่งข่าวที่อ้างจะดูมีความน่าเชื่อถือ เช่นเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน หรือเป็นผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น ซึ่งตรงนี้บอกได้คร่าวๆ ว่าความน่าเชื่อถือ 50 : 50 (ยกเว้นเป็นเว็บที่มีประวัติ / เครดิตดี อย่าง Xperia blog นี้ยอมรับว่าเเหล่งข้อมูลเค้า exclusive เเละตรงทุกครั้งที่นึกออก)
ในขณะที่ข่าวหลุด มักจะมีหลักฐานประกอบที่ไม่ใช่คน เช่น รูปภาพ ไฟล์เอกสารที่เอาไว้พรีเซนท์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เเล้วข่าวที่สามารถเชื่อถือได้ มักจะเป็นข่าวหลุดมากกว่า เช่นรูปภาพหรือข้อมูลในเว็บไซต์ที่ออกมาก่อนวันจำหน่ายหรือเปิดตัวจริง ซึ่งมีหลักฐานมากกว่าการกล่าวอ้างลอยๆ ว่ามาจาก “เเหล่งข้อมูลใกล้ชิดเพียงอย่างเดียว”
ตัวอย่างข่าวหลุดที่น่าเชื่อถือ
- มีเเหล่งที่มาจากเว็บไซต์ของ Acer
- มีหลักฐานเป็นไฟล์ XML เเละมีการจับรูปภาพยืนยันหลักฐาน
- เอกสารที่จัดเลย์เอาท์อย่างดี เพราะเอกสารของบริษัทควรจะทำออกมาอย่างมืออาชีพ
เเต่ในบางกรณีถึงมีหลักฐาน ก็ทำเอาเเป้กได้เหมือนกัน อาจจะเป็นตัวคอนเซ็ปโฟนอย่าง Sony ที่ทำออกมาเนียนมาก เเต่สรุปเเล้วเป็นเเค่ตัวที่เเฟนๆ ทำขึ้นมาเองเท่านั้น (ใครจะไปรู้ฟระ)
จริงๆ เเล้วข่าวที่เราเคยเขียนอย่าง Acer เตรียมปรับทัพใหม่ เน้นตลาดระดับกลาง – สูง เตรียมพบกับเเท็บเล็ต Nvidia Tegra 3 เดือนมีนาคม (พึ่งมาเป็นข่าวจริงจังที่เมืองนอกเมื่อสามสี่วันที่ผ่านมา) ที่เขียนไว้ตั้งเเต่เดือนกันยายน ก็จัดเป็นข่าวลือเช่นกัน ดังนั้นเราจะเห็นว่าข่าวลือบางอย่างก็เป็นจริงได้ เเต่ทั้งนี้คนที่จะรู้ว่ามันคือความจริงหรือไม่นั้น อยู่ที่ “ผู้เขียน” เเต่เพียงผู้เดียว
โดยสรุปเเล้วข่าวที่เชื่อถือไม่ได้มักจะ
- มีเงื่อนไขดีมากเกินไป เช่น iPad 6,000 บาท, Galaxy S II 1 บาทเป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีเงื่อนไขในการซื้อมาด้วย ไม่ได้ให้ซื้อกันจนเจ๊งไปข้างเเน่นอน ดีไม่ดีอาจจะเป็นเเค่การลือเเบบไม่มีมูลด้วยซ้ำ
- ไม่มีรูปภาพประกอบหลักฐาน
- เเหล่งข่าวที่มักไม่กลั่นกรองข้อมูลก่อน เจอปุ๊ปจัดเขียนปั๊ปเลย
เนื่องจากทุกวันนี้ใครๆ ก็ผลิตตัวอักษรคนอ่านได้ นั่นหมายความว่าไม่มีการตรวจสอบข้อมูลเหมือนสื่อสมัยก่อนนัก ดังนั้นผู้อ่านในปัจจุบันควรจะมีทักษะในการเเยกเเยะข้อมูลว่าข้อมูลไหนเป็นเรื่องจริงหรือหลอก เเต่ทั้งนี้ต้องตั้งข้อสงสัยต่อข่าวที่อ่านไว้ก่อนว่าอาจจะไม่เป็นความจริง (เเม้เเต่บทความนี้ก็ตาม เพราะเขียนจากสมมุติฐานของผู้เขียนเอง) บางเว็บไซต์เองนั้นก็อาจจะมีการพาดหัวในลักษณะบอกไม่หมด อย่างเช่น บอกว่าตัวนี้ลดราคานะ เเต่พอเข้ามาดันเป็นเครื่องติดสัญญาของสหรัฐ 2 ปี ซึ่งจริงๆ เเล้วไม่ใช่มูลค่าที่เเท้จริงของเครื่องเลย การพาดหัวลักษณะตีหัวเข้าบ้านเเบบนี้ก็พอจะยอมรับได้ในบางกรณี เช่น ลดราคา 50% 100 คนเเรก อาจจะยาวเกินไปสำหรับการเป็นชื่อหัวข้อ
เเต่บางเว็บไซต์ก็จัดเต็มเหมือนกันด้วยการพาดหัวข่าวในลักษณะนี้ เเถมข้างในเป็นข่าวที่ไม่น่าจะมีมูลความจริงเลยเเม้เเต่น้อย ซึ่งมันก็ดูเเย่เกินไปสำหรับผู้อ่านที่ไม่มีพื้นฐานหรือติดตามข่าวสารมากนักเพราะจะคิดว่ามันคือความจริงเเละถ้าไปถามกับคนขายดูคิดว่าจะเดือดร้อนสำหรับผู้ซื้อเเละผู้ขายสินค้าเเค่ไหน
เเต่ถ้าถามว่าข่าวไหนที่สามารถเชื่อถือได้เเน่นอน คำตอบของผมคือ เป็นข่าวที่ประกาศจากผู้ผลิตอย่างเป็นทางการ ถึงจะเชื่อถือได้ 100% ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น