สรุปปรัชญาการพัฒนาของ Android เเละการออกเเบบอินเตอร์เฟซ Ice Cream Sandwich จาก Matias Duarte หัวหน้าฝ่าย Android User Expierence

เมื่อพูดถึงผู้พัฒนา Android หลายๆ คนมักนึกถึง Andy Rubin ที่เป็นหัวหน้าของฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ Android เสียมากกว่าเนื่องจากค่อนข้างเห็นเขาในสื่อพอสมควร เเต่ Matias Duarte นั้นก็มีความสำคัญไม่เเพ้กันเนื่องจากเขาดำรงตำเเหน่งรองลงมาจาก Andy Rubin โดยตรง อีกทั้งยังเคยทำงานกันมาก่อนเเล้วสมัยอยู่บริษัท Danger (ภายหลังขายบริษัทให้ Microsoft ไป) นอกจากนี้ก่อนอยู่กับ Google เขายังเคยเป็นรองประธานฝ่าย User Experience กับ Palm มาก่อนด้วย
รายละเอียดส่วนใหญ่จากการสัมภาษณ์เป็นส่วนใหญ่เป็นเหตุผลที่ทำให้ Android มีทิศทางมาจนถึงปัจจุบันนี้ รวมไปถึงข้อจำกัดเเละโอกาสหลายๆ ด้านของ Android ที่เติบโตออกไป โดยผลงานหลักของเขาเริ่มมาจาก Android 3.0 Honeycomb เเละรวมถึง Android เวอรชันใหม่ล่าสุดอย่าง Android 4.0 Ice Cream Sandwich นี้เช่นเดียวกัน

รายละเอียดต่างๆ ในการสัมภาษณ์มีดังนี้
  • การมาออกเเบบ UX (User Experience) Android นั้นมีความซับซ้อนมากเนื่องจากเเพลตฟอร์มมีขนาดใหญ่ ต้องมีความเเน่ใจว่าการออกเเบบจะดูเหมาะสมสำหรับอุปกรณ์ชนิดต่างๆ เช่น รูปร่างของอุปกรณ์ หน้าจอหลายขนาด ทำให้ต้องมีความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เเละยืดหยุ่นพอที่จะรองรับอุปกรณ์หลายชนิด
  • เขาเปรียบ Android เหมือนกับตัวต่อ Lego ที่สามารถให้ผู้ผลิตนำไปปรับเเต่งเองได้ Android ที่มาจาก Google เหมือนกับเป็นเเค่ตัวต้นเเบบเท่านั้น
  • เขายอมรับว่า Honeycomb นั้นออกมาเเบบผิดกติกา เพราะตัดการสนับสนุนสำหรับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กกว่า นั้นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ Honeycomb นั้นไม่เปิด Source เหมือน Android เวอชันอื่นๆ ถึงกับเปรียบไว้ว่า Honeycomb นั้นเป็นเหมือนการลงจอดฉุกเฉินเลยทีเดียว
  • สาเหตุที่เขาต้องรีบทำ Honeycomb เหตุผลเป็นเพราะว่าไม่ต้องการให้ผู้ผลิตทำสิ่งงี่เง่าอย่างนำอินเตอร์เฟซบนโทรศัพท์ไปขยายบนหน้าจอขนาด 10 นิ้ว มันทำให้รู้สึกเเย่มาก จึงต้องรีบทำออกมาเนื่องจากผู้ผลิตเริ่มนำ Android 2.2 ไปใช้บนเเท็บเล็ตจำนวนมาก
  • Ice Cream Sandwich ก็เหมือนกับการนำ Honeycomb มาไว้บนโทรศัพท์ เเต่มันมีอะไรมากกว่านั้น
  • Android นั้นเหมือนกับยุคใหม่ของการมีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากยุคของ Windows ที่ใช้งานด้วยเคอร์เซอร์
usage-all-lg-vergetasks-lg-verge
  • Google ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างถึงการใช้โทรศัพท์ โดยทำการสังเกตว่าคนส่วนใหญ่ทำโทรศัพท์ทำอะไร ซึ่งศึกษาถึงสมาร์ทโฟนทั้งหมด ไม่ใช่เพียงเเค่ Android อย่างเดียว
  • สมาร์ทโฟนที่เราทำไม่ได้เจาะจงเเค่เฉพาะกลุ่ม เเต่เราทำสมาร์ทโฟนสำหรับทุกคน ซึ่งเป็นทางที่โทรศัพท์ควรจะเป็น
  • ปัญหาของ Android คือคนยังไม่มีความรู้สึกผูกพันกับมันเท่าไรนัก คนใช้อาจจะต้องการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ ที่ Android มีเเต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะหลงรักมัน
  • คนใช้ Android รู้สึกมีอำนาจในควบคุมสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น เเต่ยังมีปัญหาอยู่ที่ความซับซ้อนเเละใช้เวลานานในการศึกษาวิธีใช้งานเพื่อที่จะใช้งานได้อย่างเต็มที่
  • Google ไม่อยากได้ยินถึงปัญหาเหล่านี้ เเละนั่นทำให้ต้องกลับมาคำถามที่ว่า อะไรที่เราอยากได้ยินจากผู้ใช้ สิ่งที่เราอยากได้
  • ตอนนี้เราเน้นไปที่ต้องการทำให้ชีวิตของคนง่ายขึ้น เราต้องการสร้างสิ่งที่มหัศจรรย์ การจะสร้างสิ่งนั้นได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเห็นเเละเสียงที่ได้ยิน เเต่ตอนนี้เหมือนกับเราติดหล่มเนื่องจากซอฟเเวร์นั้นไม่ฉลาดพอที่จะจัดการกับฟีเจอร์ต่างๆ ที่เราใส่เข้าไป
Samsung-GALAXY-Nexus-Google-4G-Smartphone
  • สิ่งหนึ่งนี่เปลี่ยนเเปลงใน ICS คือฟอนต์ Roboto ที่ถูกใส่เข้ามาใหม่ ซึ่งมีการออกเเบบที่ทันสมัยมากขึ้นเเต่ก็ไม่ดูล้ำอนาคตจนเกินไป
  • สิ่งที่สองก็คือตัวฮาร์ดเเวร์ของ Galaxy Nexus ที่มีหน้าจอความละเอียดสูงมาก จนเเทบมองไม่เห็นเม็ดพิกเซลบนเครื่องเลย
  • เขามองว่าดีไซน์ของ Apple นั้นดูเป็นการจำลองวัตถุมากเกินไป เช่นไม้ปลอม อลูมิเนียมขัดปลอม หรือเเม้กระทั่งปุ่มที่ดูใส เขาเปรียบเหมือนกับเว็บที่ใส่ตัวการ์ตูนเข้าไปมากมาย ถ้าเรากลับมาดูในเวลานี้ก็คงดูตลก
  • เขายังวิจารณ์อินเตอร์เฟซเเบบ Metro ว่าเเข็งเเละมีข้อจำกัดมากเกินไปจนไม่มีพื้นที่เเสดงเนื้อหาเท่าไหร่นัก
  • Honeycomb นั้นเหมือนกับจุดเริ่มต้นของดีไซน์เเบบที่ทันสมัยเเละ Ice Cream Sandwich เป็นตัวลดวามยุ่งยากในการใช้งานลง เพื่อให้คนทั่วไปใช้งานได้มากขึ้น
  • ดีไซน์ของ Ice Cream Sandwich เน้นที่ความเป็นดิจิตัล มากกว่าพยายามจำลองวัตถุเข้ามาใน OS
  • Ice Cream Sandwich จะให้ผู้ใชเปรับเเต่งการใช้งานได้มากขึ้น เช่น uninstall เเอพของระบบได้

หลังจากอ่านมาเเล้วเราคงเข้าใจถึงข้อจำกัดของ Android มากขึ้น เนื่องจากมีเเนวคิดที่จะสนับสนุนฮาร์ดเเวร์เป็นจำนวนมาก ที่เเตกต่างทั้งขนาด ความละเอียดหน้าจอ เเละตัวประมวลผลซึ่งการออกเเบบนั้นต้องมีกรอบความคิดที่ยืดหยุ่นมากที่จะเเสดงผลได้ดีในทุกๆ เครื่อง จากนี้ไปเราจะเห็น Android ที่มีการออกเเบบที่เน้นความเป็นดิจิตอลหรือดูล้ำสมัยต่อไป ซึ่งต่างกับ iOS ที่เน้นจำลองวัตถุให้ดูสมจริง (ตู้ไม้, ลายวัตถุต่างๆ เช่นอลูมิเนียม) หรือเน้นตัวอักษรอย่างบน Windows Phone
นอกจากนี้เเล้วยังมีไกด์ไลน์ในการออกเเบบเพื่อเป็นเเนวทางให้เเอพลิเคชันมีหน้าตาที่สม่ำเสมอกัน ซึ่งก็น่าจะพอช่วยในเรื่องดีไซน์ของเเอพที่ยังไร้ระเบียบอยู่ในตอนนี้ได้ ซึ่งการมาของ Ice Cream Sandwich นี่ในเรื่องของดีไซน์ของเเอพได้ดีขึ้น
actionbar-phone-tablet
fragments
 credit : specphone.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

microUSB 3.0 จะใช้บนสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตปลายปีนี้: ส่งข้อมูลเร็วขึ้น ชาร์จไวขึ้น

เผยภาพแรก BlackBerry London รัน BB10 จากสไลด์: เปลี่ยนอินเทอร์เฟซยกชุด

RIM เผยสถิติ BlackBerry App World: โหลด 6 ล้านครั้งต่อวัน ทำเงินให้นักพัฒนาได้มากกว่า Android